วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

วันปีใหม่


happy new year 2013: สวัสดีปีใหม่อาเซียน 2556

อาเซียน ในช่วงส่งท้ายปีเก่า 2012 ต้อนรับปีใหม่ 2013 ที่ผ่านไป ไม่มีการประเมินหรือคำแถลงผลงานเป็นทางการจากสำนักเลขาธิการอาเซียน และสำหรับประเทศไทยในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียนแต่แรกเริ่มก็กลายเป็นสมาชิกธรรมดาที่ไม่ใส่ใจประเมินผลงานของอาเซียนหรือจะประเมินผลงานประเทศไทยเองเกี่ยวกับอาเซียน จึงไม่ปรากฏการแถลงเป็นทางการจากรัฐบาบไทยแต่อย่างใดปรากฏการณ์นี้สะท้อนการยึดระบบปฏิทินปีอาเซียนที่ถือวันเกิดอาเซียนคือวันที่ 8 สิงหาคม เป็นช่วงเริ่มต้นปีที่ควรจะประเมินผลงานกันหรือไม่ก็ถือเอาการประชุมสุดยอดแต่ละครั้ง ซึ่งแต่ละปีมีถึงสองครั้ง เป็นช่วงเวลาที่จะแถลงผลการดำเนินงานในรอบครึ่งปีอยู่แล้วหรือไม่ก็อาจรอรายงานประจำปีซึ่งอาเซียนจัดทำเผยแพร่เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แม้จะต้องรอให้ปีปฏิทินผ่านไปก่อนจึงจะทำรายงานสรุปได้ก็ต้องรอแม้ที่อธิบายมามิได้ประสงค์จะให้เป็นการวิจารณ์เชิงลบ แต่ก็นึกอยู่ว่าปีใหม่ทั้งที อาเซียนน่าจะมีการสื่อสารถึงพลเมืองอาเซียนบ้าง อย่างน้อยก็พอให้เป็นพิธีกรรม หรือต่อๆไปอาจกลายเป็นประเพณีเหมือนกับที่มีในแต่ละประเทศที่มักจะมีคำอวยพรปีใหม่จากประมุขแห่งรัฐหรือผู้นำรัฐบาลรัฐสมาชิกเสมอ ดังนั้นอาเซียน-โดยประธานอาเซียนประจำปี-ก็ควรจะมีสาส์นอวยพรปีใหม่ไปยังพลเมืองอาเซียนทั้งมวลบ้าง อย่างน้อยก็จะเป็นการแสดงความผูกพันเชิงสังคมและวัฒนธรรม และเป็นการย้ำความเป็นประชาคมอาเซียนหนึ่งเดียวกัน หรือเป็น “คนบ้านเดียวกัน” ซึ่งเมื่อถึงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ก็น่าจะทำบุญใส่บาตร สวดมนต์ ละหมาด หรือบูชาพระผู้เป็นเจ้าร่วมกันบ้าง!แต่อาเซียนก็ยังมิได้ริเริ่มประเพณีอวยพรปีใหม่ดังที่ตั้งข้อสังเกตนี้การอวยพรปีใหม่จากอาเซียนนอกจากจะเป็นการสร้างประเพณีแห่งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ดีแล้ว ยังเป็นโอกาสที่อาเซียนจะได้ทบทวนและประเมินผลงานในรอบปีให้ชาวอาเซียนได้รับทราบเพื่อการเตรียมงานสร้างประชาคมสำหรับปีใหม่ด้วย และการประเมินตนเองที่ว่านี้จะช่วยให้อาเซียนสะท้อนแนวคิดเรื่อง “พลเมืองอาเซียนเป็นศูนย์กลาง” เพราะการแถลงผลงานในรอบปีจะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ควรเฝ้ารอคอย หากผลงานดีก็จะได้รับคำชม หากมีอะไรน่าตำหนิติว่าก็จะได้รับรู้กันไป กระบวนการสื่อสารช่วงปีใหม่แบบนี้จะช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในสิบรัฐสมาชิกได้
วิธีอวยพรปีใหม่และแถลงผลงานประจำปีของอาเซียนอาจทำได้โดยให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้จัดทำร่างคำแถลงให้ล่วงหน้า แล้วเวียนเอกสารไปยังรัฐบาลรัฐสมาชิกแต่ละประเทศเพื่อการให้ความเห็นชอบ จากนั้นก็ออกคำแถลงในนามอาเซียนโดยตรงเป็นทางการ ผ่านสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา - โดยตัวเลขาธิการอาเซียนเอง, หรือจะให้ผ่านประธานอาเซียนประจำปีที่กำลังจะพ้นวาระ (คือกัมพูชา ในปี 2012) - โดยตัวผู้นำรัฐบาลที่ทำหน้าที่ประธานอาเซียนเอง ก็ได้ตามสะดวก แล้วให้บันทึกคำแถลงเป็นภาพยนตร์ นำออกเผยแพร่ทาง Website ของอาเซียน (http://www.asean.org) และทางสื่อ internet อื่น เช่น Facebook และ YouTube พร้อมทั้งแจกจ่ายภาพยนตร์ดังกล่าวไปยังสถานีโทรทัศน์ทั่วอาเซียนเพื่อการเผยแพร่ต่อไปในคืนวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี หากได้ดังนี้แล้วในประเทศไทยเองเมื่อถึงเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์ สาส์นอวยพรปีใหม่จากอาเซียนก็จะมาเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ของไทยต่อจากพระราชดำรัสพระราชทานพรปีใหม่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ผู้นำศาสนิกชนศาสนาต่างๆ, นายกรัฐมนตรี, ประธานรัฐสภา, และประธานศาลฎีกา
เมื่อยังไม่มีการริเริ่มประเพณีอวยพรปีใหม่จากอาเซียน ก็เป็นหน้าที่ของเลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากเวียดนามและที่ประชุมสุดยอดอาเซียนจะได้พิจารณาในปลายปีนี้ … หากมีใครอ่านบทความนี้และส่งต่อความเห็นผ่านไปยังผู้เกี่ยวข้องต่อไป
อาเซียนในปี 2012 นั้นโชคดีที่ไม่มีภาวะวิกฤติอันใด นอกจากจะมีเรื่องการเมืองและความมั่นคงว่าด้วยกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธการิครอบครองหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่มีจีนผู้เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียนเป็นแกนของปัญหา และรัฐสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้องขัดแย้งกับจีนเป็นหลัก โดยเฉพาะจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ ส่วนรัฐสมาชิกอาเซียนด้วยกันเองแม้จะมีการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฯทับซ้อนกันแต่ก็มิได้เป็นประเด็นสร้างปัญหาระหว่างอาเซียนให้วิตกกังวล ในเรื่องนี้อาเซียนแถลงระหว่างปีว่าปัญหาจะคลี่คลายเมื่อมีการจัดทำระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการเดินทางแวะหรือผ่านหมู่เกาะทะเลจีนใต้ที่มีปัญหากัน ที่เรียกว่า “Code of Conduct” นอกนั้นที่เคยมีปัญหากันระหว่างไทยกับกัมพูชาสถานการณ์ชายแดนก็สงบลงชั่วคราว ที่ว่า “ชั่วคราว” ก็เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ทำงานตามกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ในเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาทรอบปราสาทเขาพระวิหาร เป็นการชะลอปัญหามากกว่าแก้ปัญหาระยะยาว แต่ก็ถือว่าเป็นความสงบแบบหนึ่งแม้จะชั่วคราวก็ตาม นอกนี้แล้วอาเซียนไม่มีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนอื่นใด
ในเรื่องเศรษฐกิจ รัฐสมาชิกอาเซียนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐในระดับมาตรฐานเดิม 4-6 % โดยเฉลี่ยต่อปี ไม่มีวิกฤติการเงิน หรือปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจแบบที่โลกตะวันตกเผชิญอยู่ ไม่มีเส้นตายเรื่องการยกเลิกมาตรการผ่อนคลายทางภาษีและการตัดทอนงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐ ดัง “fiscal cliff” ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา, ไม่มีรัฐสมาชิกอาเซียนรายได้มีปัญหาการเงินจนถึงวิกฤติเช่น กรีซ,สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ไอร์แลนด์ ในสหภาพยุโรป. อาเซียนมิได้ใช้ระบบเงินตราสกุลเดียวกันแบบเขตเงินยูโรในสหภาพยุโรป จึงไม่ควมแตกแยกแบ่งกลุ่มสกุลเงินในสหภาพยุโรป สำหรับประเทศที่ฐานะเศรษฐกิจด้อยกว่าเพื่อน คือกัมพูชา, ลาว, พม่า, และเวียดนาม
 (Cambodia, Lao, Myanmar, Vietnam -CLVI) ก็เพียงแต่เป็นประเทศจนกว่าอีก 6 ประเทศสมาชิกด้วยกันเท่านั้น ไม่ถึงกับลำบากยากแค้นขาดแคลนปัจจัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในทางกลับกัน กัมพูชากำลังเติบโตด้านการลงทุนในอุตสาหากรรมที่ใช้แรงงานมากลาวเป็นประเทศที่พัฒนาเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แถมได้รับการยกย่องว่ามีเมตตาบริจาคช่วยเหลือชาติอื่นอยู่ในระดับต้นๆของโลก วิสัยทัศน์การสร้างชาติของลาวจะบรรลุเป้าหมายการพ้นจากการเป็นประเทศยากจนภายในปี 2015พม่ากำลังเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างประเทศ พม่ากำลังเป็นเป้าหมายที่จะเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีข้างหน้า และกำลังรอที่จะเป็นประธานอาเซียนในปี 2014 ต่อจากบรูไนผู้เป็นประธานฯในปี 2013 นี้สำหรับเวียดนามปีที่ผ่านมายังคงครองตำแหน่งผู้นำการส่งออกกาแฟในตลาดโลก และกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับสองของโลกรองจากอินเดีย ขณะที่ประเทศไทยตกอันดับมาเป็นที่สามหลังจากครองอันดับหนึ่งในการส่งออกข้าวมานานกว่ายี่สิบปี เวียดนามกำลังโตวันโตคืน ไม่เป็นปัญหาของอาเซียนเลยด้านเสาหลักสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนไม่ปรากฏกิจกรรมใดเป็นพิเศษ ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมที่อาเซียนทำต่อเนื่องมาเรื่อยๆโดยไม่มีวาระพิเศษและไม่มีวิกฤติพิเศษทางวัฒนธรรม ไม่มีข้อพิพาททางมรดกวัฒนธรรม ไม่มีปัญหาความมั่นคงทางสังคมที่มากไปกว่าเดิม ปัญหาความมั่นคงทางสังคมของอาเซียนเป็นเรื่องพื้นฐานทำนองเดียวกันกับที่โลกเผชิญ เช่นเรื่องการค้ามนุษย์, การค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติ,  การข้ามพรมแดนของผู้อพยพหางานทำและผู้ไม่มีสัญชาติ, โรคระบาดร้ายแรงที่เคยเป็นวิกฤติ เช่นไข้หวัดนกและโรคซาร์ส ก็ดูจะสงบลงเรื่องเดิมที่อาเซียนระวังตัวมากๆ และพูดเตือนกันบ่อยๆก็คือการคงมั่นในความเป็นแกนกลางของความร่วมมือในภูมิภาค ที่เรียกว่า “ ASIAN Centrality” อาเซียนห่วงเรื่องที่มิตรประเทศมหาอำนาจหรือประเทศใหญ่ๆที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทนำในอาเซียนเสียเอง แทนทีจะเป็นเพียงคู่ร่วมเจรจา ประเทศสำคัญเช่นสหรัฐอเมริกา, จีน, รัสเซีย, อินเดีย, ออสเตรเลีย, และญี่ปุ่น กำลังมีบทบาทมากขึ้นในอาเซียน บ่อยครั้งที่วาระการประชุมอาจถูกกำหนดหรือบดบังโดยปัญหาที่ประเทศคู่เจรจาเหล่านี้นำเข้าสู่ที่ประชุม ซึ่งก็อาจมีผลทำให้อาเซียน “เสียศูนย์” ไปได้อาเซียนต้องการเป็นผู้อยู่ “ในที่นั่งคนขับ” ไม่ใช่เป็น “ผู้โดยสาร” ในรถยนต์แห่งอาเซียนที่อาเซียนเป็นผู้ประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นมาเอง … ตามที่กล่าวกันในเชิงอุปมาอุปมัยเมื่อชาติมหาอำนาจไม่สามารถกำหนดทิศทางและวาระของอาเซียนได้ ก็ไปรวมกลุ่มกันใหม่ต่างหาก เสมือนสร้าง “รถคันใหม่” ขึ้นมาขับเอง แย่งชิงอำนาจการ “อยู่ในที่นั่งคนขับ” ไปด้วยเหตุนี้กรอบความร่วมมือใหม่ในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกจึงเกิดขึ้นมาเป็นคู่แข่งของอาเซียน                        เรียกชื่อว่าTrans-Pacific Strategic Economic Partnership -มีส tpp หรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเป็นผู้นำ “อยู่ในที่นั่งคนขับ” จากอาเซียนก็มีสิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และเวียดนาม เข้าไปเป็น      “ผู้โดยสาร” ในสถาปัตยกรรมความร่วมมือระดับภูมิภาคแบบใหม่นี้แล้วด้วยปีใหม่ 2013 อาเซียนยังคง “อยู่ในที่นั่งคนขับ” รถคันเดิมอยู่ เพียงแต่ผู้โดยสารอาจจะย้ายไปขึ้น “รถคันอื่น” บ้างเท่านั้นปัญหาก็คือรถอาเซียน กับรถคู่แข่งคันอื่นจะแข่งกันแล้ว...ใครจะถึงเส้นชัยก่อนหรือว่าไม่แข่งกัน...                   แต่จะชนกัน …. เท่านั้นเอง 



วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การแต่งแบบไทย


การแต่งกายของไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ 
           การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ

นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" 
           แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ

สมัยน่านเจ้าจนถึงปลายสมัยอยุธยา
สมัยน่านเจ้า(พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๑๙๔)
           เมื่อชนชาติไทยอพยพเคลื่อนที่ลงมาสู่แหลมอินโดจีนโดยลำดับ จนได้ตั้งอาณาจักรไทยน่านเจ้าขึ้นเป็นอาณาจักรไทยแห่งหนึ่งที่หนองแสตาลีฟู หญิงไทยคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีทางการแต่งกายของตนไว้ ไม่ใช้ฝุ่นผัดหน้าหรือเขียนคิ้ว ใช้น้ำกลั่นจากต้นหม่อนทาผม หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง
สมัยเชียงแสน(พ.ศ ๑๖๖๑–๑๗๓๑)
           อาณาจักรน่านเจ้าสิ้นสุดลง ชนชาติไทยเคลื่อนสู่แหลมอินโดจีนรวบรวมกันเป็นอาณาจักรใหม่ เรียกลานนาไทย หรือเชียงแสน ราว พ.ศ. ๑๖๖๑–๑๗๓๑ เนื่องแต่เข้ามาอยู่ในเขตร้อน หญิงไทยจึงนุ่งซิ่นถุง แต่การทอผ้ามีลวดลายตกแต่งประดับประดา เช่น ซิ่นทอลายขวาง เกล้าผมสูง ปักปิ่นประดับผม

สมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๒๖)
           อาณาจักรสุโขทัยเริ่มราว พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นระยะเวลาใกล้กับที่ไทยอีกพวกหนึ่งเรียกตัวเองว่า ปงหรือปา ไปก่อตั้งอาณาจักรอาหม บัดนี้คือมณฑลอัสสัมในอินเดีย พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ทรงคิดตัวอักษรไทยขึ้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมพราหมณ์และขอมแพร่มาถึงสตรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไปเกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่งกรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับเครื่องอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ - ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบทำด้วยหนังสีดำสีแดง
สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
           พระมเหสีเทวีแต่โบราณเสวยพระกระยาหารต่างเวลากับพระมหากษัตริย์ ย่อมโปรดให้ข้าหลวงตั้งเครื่องเสวยของพระองค์เองก่อนหรือภายหลัง เพื่อมีเวลาถวายปรนนิบัติพระราชสวามีได้เต็มที่ เครื่องทรงเป็นภูษาจีบห่มผ้าปัก มีเครื่องประกอบยศขัตติยนารี
ต้นสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓– ๒๑๓๑)
           พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศิลปะการดนตรีขับร้องและกลอนเพลงเฟื่องฟู ไทยเริ่มนุ่งโจงกระเบน แปลงจากทรงหยักรั้งอย่างขอม หญิงนุ่งจีบห่มสไบ มีผ้าห่มชั้นในอีกผืนหนึ่งห่มอย่างผ้าแถบสไบชั้นนอกใช้ผ้าเนื้อหนาก็ได้ ตามกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถระบุว่า “เมื่องานใส่เศียรเพชรมวย” คือเกล้าไว้ที่ท้ายทอย "เกล้าหนูนยิกเกี้ยวแซม" คือ ผมเกล้าสูงไว้บนกระหม่อม
สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑)
           ในสมัยอยุธยารัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ วรรณคดีไทยเฟื่องฟูมาก เช่น มีกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งได้ใช้ขับเห่เรือพระที่นั่งมาจนปัจจุบัน การแต่งกายสตรีตามภาพพจน์นิพนธ์กล่าวว่า
“คิดอนงค์องค์เอวอร       ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร” 
และ “ผมเผ้าเจ้าดำขลับ       แสงยับยับกลิ่นหอมรวย 
ประบ่าอ่าสละสลวย       คือมณีสีแสงนิล”
           แสดงว่าสตรีนิยมไว้ผมยาว เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้นิพนธ์บทละครเรื่อง ดาหลังและอิเหนา ขึ้น ตามเค้าเรื่องที่ข้าหลวงเชื้อชาติมลายูเล่าถวาย
           สิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ประเทศไทยต้องทำศึกสงคราม การแต่งกายของสตรีจึงเปลี่ยนแปลงไป 
ผมที่เคยไว้ยาวประบ่าก็ต้องตัดสั้น เพื่อสะดวกในการปลอมเป็นชายอพยพหลบหนี ห่มผ้าคาดอกแบบตะเบงมานรวบชายผูกเงื่อนที่ต้นคอ แสดงถึงหญิงไทย แม้จะเป็นเพศอ่อนโยนสวยงาม แต่ก็อาจปรับตัวรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ งานบ้านปรกติก็ต้องทำ เช่น ฝัดข้าวไว้หุง แต่พอมีสัญญาณภัยก็วางกะด้ง คว้าดาบ 
พร้อมที่จะสู้ได้ทัน
ที
แหล่งข้อมูล http://board.postjung.com/topic-421752.html

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทงแบบดั้งเดิมนั้นทำจากวัสดุธรรมชาติ
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] วันลอยกระทงในปฏิทินสุริยคติ

ปีวันที่วันที่วันที่
ปีชวด24 พฤศจิกายน พ.ศ. 253912 พฤศจิกายน พ.ศ. 255131 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู14 พฤศจิกายน พ.ศ. 25402 พฤศจิกายน พ.ศ. 255219 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ปีขาล3 พฤศจิกายน พ.ศ. 254121 พฤศจิกายน พ.ศ. 25538 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ปีเถาะ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 254210 พฤศจิกายน พ.ศ. 255427 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ปีมะโรง11 พฤศจิกายน พ.ศ. 254328 พฤศจิกายน พ.ศ. 255515 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง31 ตุลาคม พ.ศ. 254417 พฤศจิกายน พ.ศ. 25565 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย19 พฤศจิกายน พ.ศ. 25456 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ???
ปีมะแม8 พฤศจิกายน พ.ศ. 254625 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ???
ปีวอก26 พฤศจิกายน พ.ศ. 254714 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ???
ปีระกา16 พฤศจิกายน พ.ศ. 25483 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ???
ปีจอ5 พฤศจิกายน พ.ศ. 254922 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ???
ปีกุน24 พฤศจิกายน พ.ศ. 255011 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ???

[แก้] ประวัติ

พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

[แก้] ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

โคมลอยยี่เป็ง
  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

[แก้] ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

Loy Krathong Bangkok Lumpini Park 2.jpg
  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้

[แก้] อ้างอิง