วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

วันปีใหม่


happy new year 2013: สวัสดีปีใหม่อาเซียน 2556

อาเซียน ในช่วงส่งท้ายปีเก่า 2012 ต้อนรับปีใหม่ 2013 ที่ผ่านไป ไม่มีการประเมินหรือคำแถลงผลงานเป็นทางการจากสำนักเลขาธิการอาเซียน และสำหรับประเทศไทยในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียนแต่แรกเริ่มก็กลายเป็นสมาชิกธรรมดาที่ไม่ใส่ใจประเมินผลงานของอาเซียนหรือจะประเมินผลงานประเทศไทยเองเกี่ยวกับอาเซียน จึงไม่ปรากฏการแถลงเป็นทางการจากรัฐบาบไทยแต่อย่างใดปรากฏการณ์นี้สะท้อนการยึดระบบปฏิทินปีอาเซียนที่ถือวันเกิดอาเซียนคือวันที่ 8 สิงหาคม เป็นช่วงเริ่มต้นปีที่ควรจะประเมินผลงานกันหรือไม่ก็ถือเอาการประชุมสุดยอดแต่ละครั้ง ซึ่งแต่ละปีมีถึงสองครั้ง เป็นช่วงเวลาที่จะแถลงผลการดำเนินงานในรอบครึ่งปีอยู่แล้วหรือไม่ก็อาจรอรายงานประจำปีซึ่งอาเซียนจัดทำเผยแพร่เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แม้จะต้องรอให้ปีปฏิทินผ่านไปก่อนจึงจะทำรายงานสรุปได้ก็ต้องรอแม้ที่อธิบายมามิได้ประสงค์จะให้เป็นการวิจารณ์เชิงลบ แต่ก็นึกอยู่ว่าปีใหม่ทั้งที อาเซียนน่าจะมีการสื่อสารถึงพลเมืองอาเซียนบ้าง อย่างน้อยก็พอให้เป็นพิธีกรรม หรือต่อๆไปอาจกลายเป็นประเพณีเหมือนกับที่มีในแต่ละประเทศที่มักจะมีคำอวยพรปีใหม่จากประมุขแห่งรัฐหรือผู้นำรัฐบาลรัฐสมาชิกเสมอ ดังนั้นอาเซียน-โดยประธานอาเซียนประจำปี-ก็ควรจะมีสาส์นอวยพรปีใหม่ไปยังพลเมืองอาเซียนทั้งมวลบ้าง อย่างน้อยก็จะเป็นการแสดงความผูกพันเชิงสังคมและวัฒนธรรม และเป็นการย้ำความเป็นประชาคมอาเซียนหนึ่งเดียวกัน หรือเป็น “คนบ้านเดียวกัน” ซึ่งเมื่อถึงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ก็น่าจะทำบุญใส่บาตร สวดมนต์ ละหมาด หรือบูชาพระผู้เป็นเจ้าร่วมกันบ้าง!แต่อาเซียนก็ยังมิได้ริเริ่มประเพณีอวยพรปีใหม่ดังที่ตั้งข้อสังเกตนี้การอวยพรปีใหม่จากอาเซียนนอกจากจะเป็นการสร้างประเพณีแห่งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ดีแล้ว ยังเป็นโอกาสที่อาเซียนจะได้ทบทวนและประเมินผลงานในรอบปีให้ชาวอาเซียนได้รับทราบเพื่อการเตรียมงานสร้างประชาคมสำหรับปีใหม่ด้วย และการประเมินตนเองที่ว่านี้จะช่วยให้อาเซียนสะท้อนแนวคิดเรื่อง “พลเมืองอาเซียนเป็นศูนย์กลาง” เพราะการแถลงผลงานในรอบปีจะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ควรเฝ้ารอคอย หากผลงานดีก็จะได้รับคำชม หากมีอะไรน่าตำหนิติว่าก็จะได้รับรู้กันไป กระบวนการสื่อสารช่วงปีใหม่แบบนี้จะช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในสิบรัฐสมาชิกได้
วิธีอวยพรปีใหม่และแถลงผลงานประจำปีของอาเซียนอาจทำได้โดยให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้จัดทำร่างคำแถลงให้ล่วงหน้า แล้วเวียนเอกสารไปยังรัฐบาลรัฐสมาชิกแต่ละประเทศเพื่อการให้ความเห็นชอบ จากนั้นก็ออกคำแถลงในนามอาเซียนโดยตรงเป็นทางการ ผ่านสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา - โดยตัวเลขาธิการอาเซียนเอง, หรือจะให้ผ่านประธานอาเซียนประจำปีที่กำลังจะพ้นวาระ (คือกัมพูชา ในปี 2012) - โดยตัวผู้นำรัฐบาลที่ทำหน้าที่ประธานอาเซียนเอง ก็ได้ตามสะดวก แล้วให้บันทึกคำแถลงเป็นภาพยนตร์ นำออกเผยแพร่ทาง Website ของอาเซียน (http://www.asean.org) และทางสื่อ internet อื่น เช่น Facebook และ YouTube พร้อมทั้งแจกจ่ายภาพยนตร์ดังกล่าวไปยังสถานีโทรทัศน์ทั่วอาเซียนเพื่อการเผยแพร่ต่อไปในคืนวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี หากได้ดังนี้แล้วในประเทศไทยเองเมื่อถึงเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์ สาส์นอวยพรปีใหม่จากอาเซียนก็จะมาเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ของไทยต่อจากพระราชดำรัสพระราชทานพรปีใหม่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ผู้นำศาสนิกชนศาสนาต่างๆ, นายกรัฐมนตรี, ประธานรัฐสภา, และประธานศาลฎีกา
เมื่อยังไม่มีการริเริ่มประเพณีอวยพรปีใหม่จากอาเซียน ก็เป็นหน้าที่ของเลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากเวียดนามและที่ประชุมสุดยอดอาเซียนจะได้พิจารณาในปลายปีนี้ … หากมีใครอ่านบทความนี้และส่งต่อความเห็นผ่านไปยังผู้เกี่ยวข้องต่อไป
อาเซียนในปี 2012 นั้นโชคดีที่ไม่มีภาวะวิกฤติอันใด นอกจากจะมีเรื่องการเมืองและความมั่นคงว่าด้วยกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธการิครอบครองหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่มีจีนผู้เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียนเป็นแกนของปัญหา และรัฐสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้องขัดแย้งกับจีนเป็นหลัก โดยเฉพาะจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ ส่วนรัฐสมาชิกอาเซียนด้วยกันเองแม้จะมีการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฯทับซ้อนกันแต่ก็มิได้เป็นประเด็นสร้างปัญหาระหว่างอาเซียนให้วิตกกังวล ในเรื่องนี้อาเซียนแถลงระหว่างปีว่าปัญหาจะคลี่คลายเมื่อมีการจัดทำระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการเดินทางแวะหรือผ่านหมู่เกาะทะเลจีนใต้ที่มีปัญหากัน ที่เรียกว่า “Code of Conduct” นอกนั้นที่เคยมีปัญหากันระหว่างไทยกับกัมพูชาสถานการณ์ชายแดนก็สงบลงชั่วคราว ที่ว่า “ชั่วคราว” ก็เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ทำงานตามกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ในเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาทรอบปราสาทเขาพระวิหาร เป็นการชะลอปัญหามากกว่าแก้ปัญหาระยะยาว แต่ก็ถือว่าเป็นความสงบแบบหนึ่งแม้จะชั่วคราวก็ตาม นอกนี้แล้วอาเซียนไม่มีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนอื่นใด
ในเรื่องเศรษฐกิจ รัฐสมาชิกอาเซียนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐในระดับมาตรฐานเดิม 4-6 % โดยเฉลี่ยต่อปี ไม่มีวิกฤติการเงิน หรือปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจแบบที่โลกตะวันตกเผชิญอยู่ ไม่มีเส้นตายเรื่องการยกเลิกมาตรการผ่อนคลายทางภาษีและการตัดทอนงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐ ดัง “fiscal cliff” ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา, ไม่มีรัฐสมาชิกอาเซียนรายได้มีปัญหาการเงินจนถึงวิกฤติเช่น กรีซ,สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ไอร์แลนด์ ในสหภาพยุโรป. อาเซียนมิได้ใช้ระบบเงินตราสกุลเดียวกันแบบเขตเงินยูโรในสหภาพยุโรป จึงไม่ควมแตกแยกแบ่งกลุ่มสกุลเงินในสหภาพยุโรป สำหรับประเทศที่ฐานะเศรษฐกิจด้อยกว่าเพื่อน คือกัมพูชา, ลาว, พม่า, และเวียดนาม
 (Cambodia, Lao, Myanmar, Vietnam -CLVI) ก็เพียงแต่เป็นประเทศจนกว่าอีก 6 ประเทศสมาชิกด้วยกันเท่านั้น ไม่ถึงกับลำบากยากแค้นขาดแคลนปัจจัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในทางกลับกัน กัมพูชากำลังเติบโตด้านการลงทุนในอุตสาหากรรมที่ใช้แรงงานมากลาวเป็นประเทศที่พัฒนาเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แถมได้รับการยกย่องว่ามีเมตตาบริจาคช่วยเหลือชาติอื่นอยู่ในระดับต้นๆของโลก วิสัยทัศน์การสร้างชาติของลาวจะบรรลุเป้าหมายการพ้นจากการเป็นประเทศยากจนภายในปี 2015พม่ากำลังเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างประเทศ พม่ากำลังเป็นเป้าหมายที่จะเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีข้างหน้า และกำลังรอที่จะเป็นประธานอาเซียนในปี 2014 ต่อจากบรูไนผู้เป็นประธานฯในปี 2013 นี้สำหรับเวียดนามปีที่ผ่านมายังคงครองตำแหน่งผู้นำการส่งออกกาแฟในตลาดโลก และกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับสองของโลกรองจากอินเดีย ขณะที่ประเทศไทยตกอันดับมาเป็นที่สามหลังจากครองอันดับหนึ่งในการส่งออกข้าวมานานกว่ายี่สิบปี เวียดนามกำลังโตวันโตคืน ไม่เป็นปัญหาของอาเซียนเลยด้านเสาหลักสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนไม่ปรากฏกิจกรรมใดเป็นพิเศษ ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมที่อาเซียนทำต่อเนื่องมาเรื่อยๆโดยไม่มีวาระพิเศษและไม่มีวิกฤติพิเศษทางวัฒนธรรม ไม่มีข้อพิพาททางมรดกวัฒนธรรม ไม่มีปัญหาความมั่นคงทางสังคมที่มากไปกว่าเดิม ปัญหาความมั่นคงทางสังคมของอาเซียนเป็นเรื่องพื้นฐานทำนองเดียวกันกับที่โลกเผชิญ เช่นเรื่องการค้ามนุษย์, การค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติ,  การข้ามพรมแดนของผู้อพยพหางานทำและผู้ไม่มีสัญชาติ, โรคระบาดร้ายแรงที่เคยเป็นวิกฤติ เช่นไข้หวัดนกและโรคซาร์ส ก็ดูจะสงบลงเรื่องเดิมที่อาเซียนระวังตัวมากๆ และพูดเตือนกันบ่อยๆก็คือการคงมั่นในความเป็นแกนกลางของความร่วมมือในภูมิภาค ที่เรียกว่า “ ASIAN Centrality” อาเซียนห่วงเรื่องที่มิตรประเทศมหาอำนาจหรือประเทศใหญ่ๆที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทนำในอาเซียนเสียเอง แทนทีจะเป็นเพียงคู่ร่วมเจรจา ประเทศสำคัญเช่นสหรัฐอเมริกา, จีน, รัสเซีย, อินเดีย, ออสเตรเลีย, และญี่ปุ่น กำลังมีบทบาทมากขึ้นในอาเซียน บ่อยครั้งที่วาระการประชุมอาจถูกกำหนดหรือบดบังโดยปัญหาที่ประเทศคู่เจรจาเหล่านี้นำเข้าสู่ที่ประชุม ซึ่งก็อาจมีผลทำให้อาเซียน “เสียศูนย์” ไปได้อาเซียนต้องการเป็นผู้อยู่ “ในที่นั่งคนขับ” ไม่ใช่เป็น “ผู้โดยสาร” ในรถยนต์แห่งอาเซียนที่อาเซียนเป็นผู้ประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นมาเอง … ตามที่กล่าวกันในเชิงอุปมาอุปมัยเมื่อชาติมหาอำนาจไม่สามารถกำหนดทิศทางและวาระของอาเซียนได้ ก็ไปรวมกลุ่มกันใหม่ต่างหาก เสมือนสร้าง “รถคันใหม่” ขึ้นมาขับเอง แย่งชิงอำนาจการ “อยู่ในที่นั่งคนขับ” ไปด้วยเหตุนี้กรอบความร่วมมือใหม่ในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกจึงเกิดขึ้นมาเป็นคู่แข่งของอาเซียน                        เรียกชื่อว่าTrans-Pacific Strategic Economic Partnership -มีส tpp หรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเป็นผู้นำ “อยู่ในที่นั่งคนขับ” จากอาเซียนก็มีสิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และเวียดนาม เข้าไปเป็น      “ผู้โดยสาร” ในสถาปัตยกรรมความร่วมมือระดับภูมิภาคแบบใหม่นี้แล้วด้วยปีใหม่ 2013 อาเซียนยังคง “อยู่ในที่นั่งคนขับ” รถคันเดิมอยู่ เพียงแต่ผู้โดยสารอาจจะย้ายไปขึ้น “รถคันอื่น” บ้างเท่านั้นปัญหาก็คือรถอาเซียน กับรถคู่แข่งคันอื่นจะแข่งกันแล้ว...ใครจะถึงเส้นชัยก่อนหรือว่าไม่แข่งกัน...                   แต่จะชนกัน …. เท่านั้นเอง 



1 ความคิดเห็น: